อินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) ย่อมาจาก Inter Connection Networkหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ซึ่งใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล์ เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
ที่มา อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่ายโดนต้นพงศ์ ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้พัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (email), สนทนา (chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์, การดาวโหลด เกมส์ เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ,
การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่าง ๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (video conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรืออื่น ๆ
การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่าง ๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (video conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรืออื่น ๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างเครือข่ายสังคม ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเช่น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ไฮไฟฟ์ และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
สหภาพโทรคมนาคม ระหว่างประเทศ หรือไอทียู อันเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เปิดเผยผลสำรวจ ด้านการใช้งานอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือว่า ภาย ในปี 2557 จำนวนผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกจะสูงเกือบ ถึง 3,000 ล้านคนหรือประมาณ 40% ของประชากรโลก ทั้งหมดในส่วนของการใช้งานอินเตอร์เน็ตประเภทต่างๆ นั้น ผลสำรวจชี้ว่า ลูกค้าที่สมัครใช้งานอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย อย่างระบบ 3 จีหรือไวไฟ Wifi Hotspot มีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 2,300 ล้านคน ซึ่งในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของการให้บริการอินเตอร์เน็ตประเภทนี้มากที่สุด โดยอัตราการใช้งานกระโดดจาก 2% ในปี พ.ศ. 2553 สู่ 20% ในปี พ.ศ. 2557อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT),มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัทอินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี พ.ศ. 2557 ประชากรทั้งหมดประมาณ 67.4 ล้านคน มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 23.8 ล้านคน ( 35% ของประชากรทั้งหมด )เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web)
เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะ
สามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้าน
ดนตรีกีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่างภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ(web browser)ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกitจายเอกสารที่เครือข่ายที่ทำไว้ เกตส์ (Gates, 1995) ได้กล่าวถึงเว็บไว้ว่า นอกเหนือจากการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการแลกเปลี่ยนเอกสารกันแล้ว อินเทอร์เน็ตยังสนับสนุนสืบค้นข้อมูล อันเป็นโปรแกรมการใช้งานที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแบบหนึ่งนั่นคือเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งหมายถึงเครื่องบริการเว็บที่ต่อเชื่อมเข้ากับอินเทอร์เน็ตโดยมีข่าวสารเป็นภาพกราฟิก เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องบริการเว็บประเภทนั้น จอภาพจะปรากฏข่าวสารพร้อมด้วยการเชื่อมโยง เมื่อเลื่อนเมาส์ไปคลิกที่จุดเชื่อมโยงใดๆ ก็จะเป็นการเปิดไปสู่อีกหน้าหนึ่งที่มีข่าวสารเพิ่มเติมพร้อมทั้งการเชื่อมโยงจุดใหม่อื่นๆ ซึ่งข่าวสารหน้าใหม่นี้อาจจะอยู่ในเครื่องบริการเว็บเดียวกันหรือ อาจเป็นเครื่องบริการเว็บอื่นๆ ในอินเทอร์เน็ต กิดานันท์ มลิทอง(2540) ได้กล่าวถึงเวิลด์ไวด์เว็บว่า เป็นบริการสืบค้นสารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติ(hypertext) โดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง เพื่อเสนอหน้าเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสารสนเทศที่นำเสนอจะมีรูปแบบทั้งในลักษณะของตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง การเข้าสู่ระบบเว็บจะต้องใช้โปรแกรมทำงานซึ่งโปรแกรมที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่ เน็ตสเคป นาวิเกเตอร์ (NetscapeNavigator), อินเทอร์เน็ต เอ็กซ-พลอเรอร์ (Internet Explorer) มอเซอิก (Mosaic) โปรแกรมเหล่านี้ช่วยให้การใช้เว็บในอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้นขึ้น
ความเป็นมาของเวิลด์ไวด์เว็บ
ปี พ.ศ.2533 นักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบันเซิร์น (CERN) ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งยุโรปใน นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ คือ ทิม เบิร์นเนอร์ส-ลี(Tim Berners-Lee) ได้สร้างระบบการสื่อสารข้อมูลผ่าน เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้ทำให้มี การสร้าง โพร-โทคอลแบบ HTTP (Hypertext Transport Protocol) ขึ้น เพื่อใช้ในการส่งสารสนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperTextMarkp Language) ซึ่งการสื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบใหม่นี้ทำให้มนุษย์ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ภาพ และเสียง (จิตเกษม พัฒนาศิริ, 2540)จากการวิจัยดังกล่าวในปัจจุบันได้มีการคิดค้นและสร้างสรรค์รูปแบบเพื่อสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันโดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นตัวเชื่อมโยงทำให้เวิลด์ไวด์เว็บกลายเป็นเครื่องมือ ที่ใช้การติด-ต่อสื่อสารและการนำเสนอผ่านเครือข่ายทิ่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกไปแล้วในขณะนี้เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ
เว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจ ถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเว็บเนื่องจากเมื่อเข้าไปในเว็บแล้วสารสนเทศหรือข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการสืบค้นก็คือหน้าของเอกสารที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งรายละเอียดของแต่ละส่วนมีดังนี้เว็บไซต์ (Web site)
ปิยวิท เจนกิจจาไพบูลย์ (2540) ได้กล่าวว่า เว็บไซต์ ถูกเรียกเป็นตำแหน่งที่อยู่ของผู้ที่มีเว็บเพจเป็นของตัวเองบนระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งได้จากการลงทะเบียนกับผู้ให้บริการเช่าพื้นที่บนระบบอินเทอร์เน็ตเมื่อลงทะเบียนในชื่อที่ ต้องการแล้ว ก็สามารถจัดทำเว็บเพจและส่งให้ศูนย์บริการนำขึ้นไปไว้บนอินเทอร์เน็ตซึ่งถือว่ามีเว็บไซต์เป็นของ ตนเองแล้ว และเว็บไซต์ก็คือแหล่งที่รวบรวมเว็บเพจจำนวนมากมายหลายหน้าในเรื่องเดียวกันมารวมอยู่ด้วยกัน แต่สิ่งหนึ่งในการเสนอเรื่องราวที่อยู่บนเว็บไซต์ที่แตกต่างไปจากโปรแกรมโทรทัศน์เนื้อหาในนิตยสาร หรือหนังสือพิมพ์ เนื่องจากการทำงานบนเว็บจะไม่มีวันสิ้นสุดทั้งนี้เนื่องจากเราสามารถเปลี่ยนแปลงและเพิ่มสารสนเทศบนเว็บไซต์ได้ตลอดเวลา และแต่ละเว็บเพจจะมีการเชื่อมโยงกันภายในเว็บไซต์หรือไปยังเว็บไซต์อื่นๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านได้ในเวลาอันรวดเร็ว (กิดานันท์ มลิทอง,2542)นิรุธ อำนวยศิลป์ (2542) กล่าวถึงเว็บไซต์ว่า เป็นชื่อเรียก Host หรือ Server ที่ได้จดทะเบียนอยู่ในเวิลด์ไวด์เว็บ ซึ่งก็คือชื่อชื่อ Host ที่ถูกกำหนดให้มีชื่อในเวิลด์ไวด์เว็บ และขึ้นต้นด้วย http และมีโดเมนหรือนามสกุลเป็น .com, .net, .org หรืออื่นๆเว็บเพจ (Web page)
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (2540) ได้ให้ความหมายของเว็บเพจไว้ดังนี้ เว็บเพจ คือหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ที่เจ้าของเว็บเพจ ต้องการจะใส่ลงไปในหน้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น เช่น ข้อมูลแนะนำตัวเองซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือ องค์กรที่ต้องการให้ผู้อื่นได้ทราบ หรือข้อมูลที่น่าสนใจเป็นต้นโดยที่ข้อมูลที่แสดงเป็นได้ทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวและข้อมูลที่นำเสนอสามารถเชื่อมโยงในรูปของไฮเพอร์เท็กซ์ คือ เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นที่จะให้ข้อมูลนั้นๆ ในระดับลึกลงไปได้เรื่อยๆและเว็บเพจจะต้องมีที่อยู่อิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายเฉพาะของตน ซึ่งแหล่งที่อยู่นี้เรียกว่า URL (UniformResourceLocator) แมทธิว (Matthews, 1997) ได้ให้ความหมายของเว็บเพจว่า เป็นแฟ้มข้อความที่อยู่ในรูปของHyper Text Markup Language (HTML) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปสู่แฟ้มข้อมูลและเว็บเพจอื่นๆ โดยที่แฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บ (web server) และสามารถที่เข้าถึงแฟ้ม ข้อมูลได้ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่เชื่อมโยงกับเครื่องบริการเว็บ โดยผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือระบบแลน (LAN)นอกจากนี้ ยังสามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลได้โดยการใช้โปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser) โดยที่โปร- แกรมจะทำการดาวน์โหลดข้อมูลมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ และแปลคำสั่งของ HTML แล้วแสดงผลออกทางจอ คอมพิวเตอร์ส่วนอีกความหมายหนึ่งของเว็บเพจ คือ รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของการสื่อสารโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยส่วนประกอบสำคัญของเว็บเพจมีสองส่วนคือ ส่วนที่เป็นปฏิสัมพันธ์ และส่วนที่เป็นสื่อประสมสำหรับส่วนที่เป็นสื่อประสมนั้นจะประกอบไปด้วย ตัวอักษร เสียง ภาพเคลื่อนไหว และแฟ้มวีดิทัศนซึ่งทั้งหมดนี้จะประกอบกัน เพื่อนำเสนอเนื้อหา และในส่วนที่เป็นปฏิสัมพันธ์ เนื่องจากผู้ใช้สามารถส่งข้อมูลหรือคำสั่งไปยังเว็บไซต์ที่ถูกควบ คุมด้วยบริการเว็บอีกทอดหนึ่ง ในแต่ละเว็บเพจจะมีที่อยู่เว็บที่เรียกว่าUniform Resource Locator (URL) โดยที่ อยู่เว็บ จะปรากฏในช่อง Address (เป็นส่วนของกล่องข้อความและ drop-down) ที่ส่วนบนของจอภาพโดยที่อยู่ เว็บนั้นเปรียบเสมือนทางผ่านบนอินเทอร์เน็ตเพื่อไปยังเว็บเพจที่ต้องการ เช่นเดียวกับการค้นหาแฟ้มต่างๆในคอมพิวเตอร์กิตติ ภักดีวัฒนกุล (2540) ได้กล่าวถึงส่วนประกอบของเว็บเพจว่า มีส่วนประกอบต่างๆ ที่จำเป็นดังนี้ ดังนี้1. Text เป็นข้อความปกติ โดยสามารถตกแต่งให้สวยงามและมีลูกเล่นต่างๆดังเช่นโปรแกรมประมวลคำ
2. Graphic ประกอบด้วยรูปภาพ ลายเส้น ลายพื้น ต่างๆ มากมาย
3. Multimedia ประกอบด้วยรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และแฟ้มเสียง
4. Counter ใช้นับจำนวนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บเพจของเรา
5. Cool Links ใช้เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจของตนเองหรือเว็บเพจของคนอื่น
6. Forms เป็นแบบฟอร์มที่ให้ผู้เข้าเยี่ยมชม กรอกรายละเอียด แล้วส่งกลับ มายังเรา
7. Frames เป็นการแบ่งจอภาพเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนก็จะแสดงข้อมูลที่แตก ต่างกันและเป็นอิสระจากกัน
8. Image Maps เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ ที่กำหนดส่วนต่างๆ บนรูป เพื่อเชื่อมโยง ไปยังเว็บเพจอื่นๆ
9. Java Applets เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปเล็กๆที่ใส่ลงในเว็บเพจเพื่อให้การใช้งาน เว็บเพจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นอกจากส่วนประกอบดังกล่าวแล้ว องค์ประกอบที่นิยมใส่ไว้ในเว็บเพจอีก 2 ส่วนได้แก่ 1) สมุดเยี่ยม(guestbook) และ 2) เว็บบอร์ด (webboard) ที่ช่วยให้เว็บเพจกลายเป็นสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับผู้สร้างและระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า Common Gateway Interfaceหรือ เรียกสั้นๆ ว่า CGI โดยมีรายละ- เอียดดังนี้
Common Gateway Interface (CGI)
เป็นมาตรฐานที่ผู้ที่เข้าไปใช้ข้อมูลในเครื่องบริการเว็บในอินเทอร์เน็ต สามารถสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลเช่น หัวข้อข่าวต่างๆ หรือบทความทางวิชาการ รายชื่อหนังสือ หรือการสมัครเป็นสมาชิกเพื่อรับบริการต่างๆทางอินเทอร์เน็ต ซึ่ง CGI จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการพิมพ์ข้อมูลของผู้เยี่ยมชมและแสดงผลออกมาทางเว็บเพจ ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีระบบการใช้งาน CGI ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วโลกคือhttp://www.yahoo.comสมุดเยี่ยม (Guestbook)
สมุดเยี่ยม ทำหน้าที่คล้ายๆ กับสมุดบันทึก เมื่อมีผู้เข้ามาเยี่ยมและเมื่อผู้ชมได้เขียนคำติ-ชมหรือความคิดเห็นต่างๆ ลงในแบบฟอร์มที่ได้จัดทำได้ โปรแกรมก็จะทำการประมวลผลโดย CGI และแสดงผลที่ผู้เขียนได้บันทึกไว้ออกมาทางเว็บเพจที่เรากำหนดไว้เว็บบอร์ด (Webboard)
เว็บบอร์ด เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้เว็บกลายเป็นที่นิยม โดยเว็บบอร์ดทำหน้าที่คล้ายๆ กับการให้ผู้เข้าเยี่ยมชมร่วมแสดงความคิดเห็น ทัศนะต่างๆ ตามที่มีการตั้งหัวข้อหรือกระทู้เอาไว้ ตัวอย่างเว็บบอร์ดที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ของไทยคือเว็บไซต์ http://www.pantip.com/ ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้เข้าใช้บริการราวประมาณ 30,000 คนโฮมเพจ (Home page)
โดยทั่วไปแล้วในแต่ละเว็บไซต์จะมีโฮมเพจ หรือ หน้าต้อนรับ (welcome page) ซึ่งปรากฏเป็นหน้าแรกเมื่อเปิดเว็บไซต์นั้นขึ้นมาเปรียบเสมือนกับสารบัญและคำนำ ที่เจ้าของเว็บไซต์สร้างขึ้นเพื่อใช้ประชาสัมพันธ์องค์กรของตนว่าให้บริการในสิ่งใดบ้าง (กิดานันท์ มลิทอง, 2542) นอกจากนี้ภายในโฮมเพจก็อาจมีเอกสารข้อความที่เชื่อมโยงต่อไปยังเว็บเพจอื่นได้อีกซึ่งโฮมเพจสามารถเชื่อมโยงกับเว็บเพจและเว็บไซต์อื่นๆอีกเป็นจำนวนมากได้(งามนิจ อาจรินทร์, 2542)จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าความหมายเว็บไซต์ เว็บเพจและโฮมเพจนั้นมีลักษณะคล้ายกันคือเป็นหน้าเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ที่อาศัยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระหว่างผู้ทำเว็บกับผู้ชม โดยเว็บไซต์นั้นเปรียบเสมือนศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารขององค์กรหรือหน่วยงานโดยมีเว็บเพจทำหน้าที่อธิบายขยายความในแต่ละส่วนและโฮมเพจถือเป็นส่วนที่ต้อนรับและบอกกล่าวกับผู้มาชมว่าข้อมูลข่าวสารที่ผู้ชมต้องการนั้นอยู่ในส่วนไหนของเว็บไซต์
บริการบนอินเทอร์เน็ต
บริการบนอินเทอร์เน็ต เป็นบริการเพื่อตอบสนองความต้องการในด้านการสื่อสารของผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับบุคคล กลุ่ม และองค์กร ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแบ่งปันความคิด ข้อมูล สารสนเทศ รวมถึงความรู้ โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีหรือบริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล (e-mail)เป็นบริการรับส่งจดหมายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้ โดยสามารถส่งได้ทั้งข้อความ และไฟล์ต่างๆ ซึ่งผู้รับและผู้ส่งต้องมีที่อยู่อีเมล (e-mail address) เพื่อระบุตัวตนบนเครือข่าย เปรียบเสมือนกับเป็นที่อยู่ที่ใช้รับและส่งจดหมาย
มารยาทของการสื่อสารผ่านอีเมล
1.ใช้หัวเรื่องที่สรุปสาระสำคัญของเนื้อหาในอีเมล2 เขียนเนื้อหาให้มีสาระในการสื่อสารที่ชัดเจน
3. เขียนข้อความให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ เหมาะสมกับกาลเทศะ และลงชื่อผู้เขียนทุกครั้ง
4. ใช้ bcc ในการระบุผู้รับ เมื่อส่งข้อความถึงผู้รับจำนวนมาก เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้รับที่ระบุใน bcc
5.อย่าใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ ซึ่งแสดงถึงการตะโกน หรือการข่มขู่ผู้อ่าน
6. จัดระเบียบข้อความเป็นย่อหน้าเพื่อสะดวกต่อการอ่าน
7.ใช้ภาษาที่เหมาะสมและตัวสะกดที่ถูกต้อง
8. ใช้การตอบกลับ (reply) แทนการเขียน (compose) ข้อความใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามเรื่องราวของอีเมลที่เกี่ยวข้องกันได้สะดวก
9.ใช้การตอบกลับไปยังทุกคน (reply all) เมื่อจำเป็น เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในการตอบอีเมลนั้น
10.ใช้อักษรตัวย่อ หรือสัญรูปอารมณ์ที่ไม่ฟุ่มเฟือยจนเกินไป และคาดหวังว่าผู้รับสามารถเข้าใจได้
การสื่อสารในเวลาจริง (real time communication)
เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลที่สามารถโต้ตอบกลับได้ทันทีผ่านเครือข่ายการสื่อสาร สามารถส่งเป็นข้อความภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง ไปยังผู้รับ ในการสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใช้ระบบในเวลาเดียวกันและข้อความจะถูกส่งจากผู้ใช้คนหนึ่งไปยังผู้ใช้ทุกคนในกลุ่มได้ ตัวอย่างการสื่อสารในเวลาจริง เช่น การแชท ห้องคุย และ วอยซ์โอเวอร์ไอพีแชท (Chat)
เป็นการสนทนาผ่านอินเทอร์เน็ต ทั้งระหว่างบุคคล 2 คนหรือระหว่างกลุ่มบุคคลโดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์เช่น Windows Live และ Yahoo messengerห้องคุย (Chat room)
เป็นการสนทนาที่ผู้ใช้สามารถเลือกประเภทของหัวข้อการสนใจซึ่งแบ่งไว้เป็นห้องต่างๆ เพื่อพูดคุยกันระหว่างบุคคลหรือเป็นกลุ่ม การสนทนารูปแบบนี้อำนวยความสะดวก เพิ่งประสิทธิภาพ และช่วยประหยัดเวลาในการสื่อสารข้อความไปยังบุคคลต่างๆ โดยอาจสื่อสารในรูปข้อความ การแบ่งปันไฟล์ หรือการใช้เว็บแคมควบคู่กันไประหว่างการสื่อสารตัวอย่างห้องคุย เช่น CHATABLANCAวอยซ์โอเวอร์ไอพี หรือ วีโอไอพี (Voice over IP : VoIP)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินเทอร์เน็ตเทเลโฟนี (Internet telephony) ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยกับผู้อื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยวอยซ์โอเวอร์ไอพีในอินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อเข้ากับคู่สนทนาที่อาจอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือพื้นที่ห่างไกลออกไป โดยเสียงของผู้พูดจะถูกแปลงให้อยู่ในรูปสัญญาณดิจิทัลแล้วส่งผ่านอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับปลายทางเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (social networking Web sites)
เป็นชุมชนออนไลน์ที่สมาชิกในชุมชนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยเป้าหมายในการเป็นจุดเชื่อมโยงเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ โดยอาจเชื่อมโยงผ่านกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ใช้มีความสนใจร่วมกัน เช่น การแบ่งปันวีดิทัศน์ การเล่าสู่กันฟังถึงประสบการณ์ที่ได้รับ การแสดงความรู้สึกหรือความคิดเห็น การทำความรู้จักกัน การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และการรวบรวมกลุ่ม เพื่อทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือให้ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงวิชาการ ข้อมูลในการประกอบอาชีพ เช่นfacebook, myspace, Linkedin, hi5 และ GotoKnowบล็อก (blog)
เป็นระบบการบันทึกข้อมูลลำดับเหตุการณ์ในแต่ละวัน ประสบการณ์ความคิดของผู้เขียนบล็อกผ่านเว็บไซต์ ในรูปแบบการนำเสนอหัวข้อ ซึ่งผู้อื่นสามารถอ่านและแสดงความคิดเห็นได้ รายการหัวข้อที่ปรากฏในบล็อกมักจะเรียงลำดับหัวข้อที่นำเสนอล่าสุดไว้ที่ส่วนบนคำว่า “บล็อก” มาจากคำว่า “เว็บล็อก (web log)” เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏมีลักษณะเป็นการบันทึกข้อมูลผ่านเว็บที่มีการระบุวันเวลารวมถึงผู้บันทึกข้อมูลแต่ละหัวข้อไว้ หัวข้อข้อมูลหรือความเห็นที่ถูกนำเสนอในบล็อกอาจจัดทำโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่เป็นเจ้าของบล็อก หรือบุคคลที่มีความสนใจร่วมกัน หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเหมือนกันจนเกิดชุมชนในบล็อกขึ้น ข้อมูลและความเห็นสามารถนำเสนอในรูปของข้อความ ภาพ หรือ มัลติมิเดียได้ เช่น Blogger, GooggleBlogและ BLOGGANGไมโครบล็อก (microblog)
เป็นบล็อกที่มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่กระชับ กะทัดรัด ผู้ใช้ที่เป็นสมาชิกสามารถเลือกหัวข้อจากบล็อกอื่นให้มาปรากฏในไมโครบล็อกของตนเอง หรือเลือกตามสมาชิกอื่นได้ ตัวอย่างไมโครบล็อก เช่น twitter , yammer , Jaikuและtumblrวิกิ (wiki )
เป็นรูปแบบการเผยแพร่ข้อมูลที่บุคคลต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง สามารถมีส่วนร่วมในการเป็นผู้ให้ข้อมูลใหม่ หรือเป็นผู้ปรับปรุงข้อมูลที่มีอยู่เดิมให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น รายละเอียดของข้อมูลที่เผยแพร่ก่อให้เกิดประโยชน์กับบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น ผู้สอนและผู้เรียนสมารถใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารข้อมูลที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน องค์กรธุรกิจสามารถใช้เป็นที่รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวกับการดำเนินการสำหรับให้บุคคลในองค์กรใช้อ้างอิงในการปฏิบัติงาน ผู้ใช้สามารถเรียกดูประวัติการปรับปรุงข้อมูลย้อนหลังได้ ดังนั้นวิกิจึงเหมาะสำหรับการเก็บรวบรวมรายละเอียดของเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ตัวอย่างวิกิ เช่น Wiki pedia , WIKIBOOKSอาร์เอสเอส (Really Simple Syndication: RSS )
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เป็นประจำได้แบบอัตโนมัติ โดยผู้ใช้ต้องขอรับบริการ (subscribe) ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปยังเว็บไซต์ที่สนใจต่างๆโดยตรง เพื่ออ่านข้อมูลที่ได้รับการปรับปรุงในแต่ละวันด้วยตนเองทีละเว็บไซต์ ซึ่งแต่ละเว็บไซต์อาจมีความถี่ในการปรับปรุงข้อมูลแตกต่างกันไป ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลที่มีการให้บริการเผยแพร่แบบอัตโนมัตินี้ โดยคลิกปุ่มสัญลักษณ์ หรือ RSS หรือ XML ที่ปรากฏบนหน้าเว็บ แล้วคลิกที่ปุ่มสัญลักษณ์ดังกล่าว เพื่อรวบรวมแหล่งข้อมูลที่ขอรับบริการไว้เป็นสัดส่วนที่สะดวกการเข้าถึง โดยมีอาร์เอสเอสรีดเดอร์ (RSS reader) หรือ ฟีดรีดเดอร์ (Feed reader) หรือคอนเทนท์ แอกกรีเกเตอร์(contentaggregator) ทำหน้าที่คอยติดตามการปรับปรุงของข้อมูลที่ได้รับบริการไว้ ทำให้ผู้ใช้สามารถเชื่อมไปยังข้อมูลที่เผยแพร่ได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยได้โดยตรง ช่วยประหยัดเวลาในการเข้าถึงข้อมูล สามารถเข้าถึงเว็บไซต์ที่สนใจที่มีอยู่มากมายได้อย่างครบถ้วนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( electronic commerce หรือ e – commerce )
เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซด์เป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่างๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุกประเทศ หรือทุกมุมโลกสามารถเข้าถึงร้านค้าได้ง่ายและตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่าง เช่น ร้านขายหนังสือบนอินเทอร์เน็ตสามารถนำเสนอรายการและตัวอย่างหนังสือบนเว็บได้ มีระบบค้นหาหนังสือที่ลูกค้าต้องการ โดยดูตัวอย่างหนังสือก่อน และถ้าต้องการสั่งซื้อ ก็สามารถสั่งซื้อได้โดยกรอกแบบฟอร์มการสั่งซื้อ พร้อมทั้งเลือกวิธีการชำระเงินค่าหนังสือทีมีหลายรูปแบบ เช่น ระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต ระบบการโอนเงินผ่านธนาคาร หรือระบบการนำส่งสินค้าแล้วจึงค่อยชำระเงิน ตัวอย่างการซื้อสินค้าบนอินเทอร์เน็ตโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์
ไวรัส ( virus )
เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่น แล้วแพร่กระจายตัวเองจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูลเวิร์ม ( worm ) หรือหนอนคอมพิวเตอร์
เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ช้าลงม้าโทรจัน ( trojan horse )
เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยการแอบแฝงตัวเองว่าเป็นโปรแกรมอื่นเช่นการหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นโปรแกรมเกมหรือโปรแกรมสกรีนเซิร์ฟเวอร์ที่ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรมนี้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อาจจะมีไวรัสซึ่งติดมากับม้าโทรจันนี้เข้าไปทำความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้สปายแวร์ ( spyware )
เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตาม บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเทอร์เน็ต หรือ ทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมเบราว์เซอร์ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญและทำให้ประสิทธิภาพให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช้าลงแอดแวร์ ( adware )
เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าต่าง ป๊อปอัพ ( pop – up ) ที่มีการโฆษณาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติสแปม ( spam )
เป็นการใช้ระบบส่งอีเมลในการส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ ให้กับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สแปมที่พบบ่อย คือการส่งข้อความโฆษณาขายสินค้า บริการ ท่องเที่ยว ชักชวนประกอบอาชีพที่มีรายได้สูง ผ่านระบบอีเมลที่เรียกว่า เมลขยะ ( junk mail ) นอกจากนี้อาจมีการส่งผ่านสื่ออื่น เช่น การส่งสารทันที โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมออนไลน์ โปรแกรมค้นหา บล็อก หรือ วิกิ ซึ่งส่งผลให้เกิดการรบกวนการใช้สื่อสารเหล่านั้น
ผลกระทบการใช้งานอินเทอร์เน็ต
2.ปัญหาอาชญากรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมหลายรูปแบบ เช่น เจาะระบบรักษาความปลอดภัย ให้สามารถเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อกระทำการใดๆ กับระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ หรือข้อมูลที่มิชอบต่างๆ อาจทำให้เกิดความเสียหายในเชิงธุรกิจ การบิดเบือนข้อเท็จจริง ขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยการใช้ช่องทางสื่อสารหรืออินเทอร์เน็ต เช่น การแชท การโทรศัพท์ ในการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนตัวของบุคคล โดยการปลอมแปลงเป็นผู้ดูแลระบบ หรือผู้ดูแลข้อมูล เป็นบุคคลใกล้ชิด หรือสร้างสถานการณ์ฉุกเฉินที่เสมือนจริง เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อเกิดความไว้ใจ หรือ หลงเชื่อ และเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
เผยแพร่ภาพอนาจาร การเผยแพร่ภาพอนาจารต่างๆโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น ผ่านเกมออนไลน์ ผ่านการสร้างไฟล์ไวรัสเจาะเข้ามาที่ระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้ใช้เปิดอินเทอร์เน็ตไฟล์ไวรัสจะแสดงภาพอนาจารต่างๆ หรือผ่านโปรแกรมค้นหา โดยการตั้งคำหลักที่หลากหลายให้กับภาพอนาจาร เมื่อผู้ใช้ค้นหาด้วยคำหลักที่ตรงกับที่ได้ตั้งไว้ก็จะปรากฏภาพอนาจารในผลที่ได้จากการสืบค้นหาข้อมูล
3. ปัญหาการล่อลวงในสังคม จากการทีผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ตบางคน สร้างตัวตนขึ้นมาใหม่ในการติดต่อสนทนากับผู้อื่น โดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ เช่น เพศ อายุ ภาพถ่าย และอาชีพ เพื่อล่อลวงให้คู่สนทนาสนใจตัวตนใหม่ และนัดพบเพื่อการกระทำอันตรายต่างๆ จนเกิดปัญหาร้ายแรงต่อทรัพย์สินหรือต่อตนเอง เพื่อให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม มีความปลอดภัยในการดำเนินชีวิต ผู้ใช้ควรเลือกแสวงหาความรู้และใช้อินเทอร์เน็ตอย่างรู้เท่าทัน และมีวิจารณญาณ รู้จักแยกแยะสิ่งถูกและผิด มีความหนักแน่นในศีลธรรม ไม่ลุ่มหลงไปกับสิ่งยั่วยวนใจในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการเรียนรู้เกี่ยวกับภัยอันตรายหรือผลเสียที่อาจได้รับ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเกิดเหตุ และใช้งานอินเทอร์เน็ตโดยความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดสังคมและการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างมีความสุข
บัญญัติ 10 ประการในการใช้งานคอมพิวเตอร์
2. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์รบกวนผู้อื่น เช่น เปิดฟังเพลงด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ เล่นเกมรบกวนผู้อื่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
3. ต้องไม่เปิดดูไฟล์ของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาต เช่น แอบเปิดอ่านอีเมลของเพื่อน
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการโจรกรรมข้อมูล ข่าวสาร เช่น การแอบเจาะระบบเพื่อขโมยข้อมูลการค้าของบริษัท ขโมยรหัสผ่านบัตรเครดิต
5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานเท็จ เช่น การแอบเจาะระบบเพื่อเปลี่ยนแปลงคะแนน
6. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการคัดลอก หรือ ใช้โปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น ดาวน์โหลดโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ โดยมีโปรแกรมแก้ไขเพื่อให้ใช้งานได้
7. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการ ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์ เช่น ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ หรือ ไม่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเข้าใช้
8. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อนำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
9. ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากโปรแกรมที่ตัวเองพัฒนาขึ้น
10. ต้องใช้คอมพิวเตอร์ โดยเคารพกฎ ระเบียบ กติกา และมารยาทของสังคมนั้น